Hi Speed Internet (อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง)
หน้าแรก บทเรียนออนไลน์ ดาวน์โหลด ประวัติส่วนตัว สมุดเยี่ยม เว็บบอร์ด อีเมล์
อินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปที่ใช้ตามบ้านหรือเป็นเพ็คเกตที่ซื้อตามร้านคอมพิวเตอร์มักมี
ความเร็ว
อยู่ที่ 56 Kbp (กิโลบิต)
ความสามารถในการดาวโหลด/อัพโหลด
ขึ้นอยู่กับ
สายสัญญาน+ระยะทาง+ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
แต่เมื่อใช้งานจริง
จะเห็นว่า
การดาวน์โหลดข้อมูล
ไม่สามารถเป็นไปตามที่คอนเน็คได้
คือสมมติว่าิเราต่อเน็ตได้ความเร็ว
56 Kbp
แทนที่จะโหลดได้เต็ม
56
แต่กลับโหลดได้ทีละ
3-10 k/s (3-10
กิโลไบต์ต่อวินาที)
และมีความเร็วไม่สม่ำเสมอซ้ำร้ายบางครัึ้้งยังต่อปุ๊บหลุดปั๊บ
นั่นขึ้นอยู่กับคุณภาพของ
สายโทรศัพย์
และองค์ประกอบอีกหลายๆอย่าง
เช่นคู่สายโทรศัพย์รั่ว/สายเก่า/
สายโทรศัพย์อยู่ใกล้สถานที่หรือแหล่งที่มีสัญญาณรบกวนสูง
เกิดการรบกวนในสาย
และการผิดพลาดของข้อมูล
(รับส่งข้อมูลเป็นอนาลอก)
***เมื่อต่ออินเตอร์เน็ตไม่สามารถใช้งานโทรศัพย์ได้
ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ดีขึ้นและความเร็วก็ค่อยๆเพิ่มตาม
เริ่มที่ ISDN
ที่ให้อัตราความเร็วใน
64-128 Kbps
ไม่เพียงเท่านี้
ยังมี
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
ซึ่งให้อัตราความเร็ว
140-400 Kbps
สำหรับในประเทศไทย
รูปแบบของการให้บริการ
อินเทอร์เน็ต
ได้รับพัฒนาเรื่อยมา
สอดคล้องกับความร้อนแรงของการแข่งขันจนนำไปสู่การเสนอรูปแบบและเทคโนโลยีใหม่
ๆ
ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม
เร็วกว่าเดิม
และดีกว่าเดิม
นั่นคือ ADSL
ADSL มาจากคำว่า
Asymmetric Digital Subscriber Line
เทคโนโลยีของ
Modemใหม่
ที่เปลี่ยนจากการส่งผ่านข้อมูลแบบอนาลอกเป็นดิจิตอล
และใช้ความถี่ในการส่งสูงกว่า
ทำให้สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดงให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง
โดย ADSL
สามารถส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า
6 Mbps
ขึ้นไปจากผู้ให้บริการ
ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ตามบ้านรับข้อมูล(ดาวน์โหลดข้อมูล)ด้วยความเร็วสูงมากกว่า
6 Mbps
ซึ่งจะได้ความเร็วเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ(ISP)
ADSL
ทำงานได้อย่างไร?
การทำงานของ
ADSL
เนื่องจากว่า
สายโทรศัพท์ที่ทำจาก
ลวดทองแดงมี
Bandwidth
สูงจึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วนๆ
เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า
FDM (Frequency Division Multiplexing)
ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลายๆช่องโดยที่แต่ละช่องจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน
ดังนั้น
จะได้ Bandwidth
ต่างๆ ดังนี้
--ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน
4 KHz
ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น
Voice กับ FAX
--ย่านความถี่ที่สูงกว่า
4 KHz
จะถูกแบ่งออกเป็น
หลายย่านความถี่
เช่น
ช่องสัญญาณสำหรับ
การรับข้อมูลแบบ
Downstream เช่นการ Download
ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า
Downstream
ซึ่งเรียกว่า
Upstream
หรือสำหรับการ
Upload ข้อมูล
เป็นต้น
*** ระบบ ADSL ในประเทศไทยส่วนมากจะเน้นไปที่การดาวน์โหลดไม่เน้นการอัพโหลดแต่ก็ใช่ว่าจะ |
้ ไม่ได้ แต่ความสามารถในการอัพโหลดมีน้อยกว่า หรือเรียกว่าอัตราความเร็วในการอัพโหลดต่ำกว่า |
การดาวน์โหลด แต่ถ้าต้องการอัพโหลดมากก็สามารถติดต่อเพื่อขอความเร็วเพิ่มขึ้นได้ที่ ISP |
หรือผู้ให้บริการโดยตรง |
การขอเช่าวงจร ADSL ทำได้ดังนี้ |
1.ขอเช่าจาก ISP เช่น กศท. (CAD),ทรู(True) แล้วเขาจะให้เลือกระหว่างข้อ2หรือข้อ3 |
2.ใช้สายโทรศัพท์ที่มีอยู่เดิมเป็นสายส่งข้อมูล(สามารถรับโทรศัพท์ไปพร้อมๆกันได้) |
3.ขอให้ ISP เดินสายจากศูยน์มาให้โดยตรง(สัญญาณจะดีกว่าใช้สายโทรศัพท์) |
4.ความเร็วขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่เราทำไว้กับ ISP (มีผลทางด้านราคา) |
5.ถ้าต้องการใช้ความเร็วในการโหลดเว็บต่างประเทศน้อยหน่อยราคาก็จะถูกตาม |
6.ในกรณีขอเช่าโดยใช้สายโทรศัพท์ให้ลองติดต่อที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์ก่อนเช่น |
TT&T หรือองค์การโทรศัพท์ (TOT) |
Best View By IE 5.0 up / 1024x768 Pixels / Medium Text
Size
© 2000-2004 PBAT.AC.TH Design & Update By Seaksan sangnark