DOS (Disk Operating System) ดิสก์โอเปอเรติ้งซิสเต็ม


หน้าแรก    บทเรียนออนไลน์     ดาวน์โหลด     ประวัติส่วนตัว    สมุดเยี่ยม     เว็บบอร์ด     อีเมล์  

 


DOS (Disk Operating System) คืออะไร
         ระบบปฏิบัติการในรูปแบบของตัวอักษร (Text Mode) ถึงแม้ว่าปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะใช้ Windows (ระบบรูปภาพ หรือ Graphics Mode) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนการใช้งาน DOS ก็ยังถือว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย ตัวอย่างเช่น การติดตั้ง Windows การแบ่ง harddisk แต่ละ drive (Partition Harddisk) อาจจำเป็นต้องมีการ boot เข้าระบบดอสก่อนและเช่นเดียวกับบางบริษัทที่มีใช้งานในระบบ เครือข่าย  Novell Netware ก็ยังจำเป็นต้องทำงานใรระบบ DOS เช่นกัน

          ชื่อ DOS บางท่านอาจเคยเห็นชื่อที่เป็น MS-DOS นั่นหมายถึง Microsoft Disk Operating System (บริษัทไมโครซอร์ฟเป็นผู้ผลิต)

ความยาวของชื่อ-นามสกุล ไฟล์

    ความแตกต่างที่เห็นในชัดของชื่อไฟล์ในระบบ DOS กับ Windows คือ ความยาวของชื่อไฟล์ Windows สามารถตั้งชื่อให้ยาวได้มากถึง 255 ตัวอักษร ส่วนในระบบ DOS ชื่อและนามสกุลของไฟล์จะถูกจำกัดได้เพียง

ชื่อยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร นามสกุลยาวไม่เกิน 3 ตัวอักษร
ตัวอย่าง Readme.TXT (ชื่อไฟล์ Readme หลังจุดคือนามสกุล TXT)

คำสั่งระบบ DOS พื้นฐาน

  1. DIR (Directory) - คำสั่งในการแสดงรายชื่อไฟล์ รายชื่อไดเรกทอรี่ (Folder ใน windows ปัจจุบัน)

    ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
    Dir - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ทั้งหมด พร้อมทั้งขนาดไฟล์ + วันเวลาอัปเดทล่าสุด
    Dir /p - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน ให้หยุดแสดงทีละหน้า (กรณีที่มีจำนวนไฟล์ยาวมากกว่า 1 หน้าจอ)
    Dir /w - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ในแนวนอน
    Dir /s, - แสดงรายชื่อไฟล์ ไดเรกทอรี่ และไฟล์ที่อยู่ในไดเรกทอรี่ย่อยด้วย
    Dir /od - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามวันที่อัปเดท Dir /n - แสดงรายชื่อไฟล์ ให้เรียงตามชื่อ

  2. CLS (Clear Screen) - คำสั่งสำหรับลบหน้าจอออก

  3. DEL (Delete) - คำสั่งในการลบชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น DEL readme.txt หมายถึงให้ลบชื่อไฟล์ README.TXT

    ตัวอย่างการใช้งาน (รวมคำสั่งย่อย ๆ)
    Del readme.txt - ลบไฟล์ชื่อ readme.txt
    Del *.* - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน
    Del *. - ให้ลบไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเรกทอรี่ปัจจุบัน เฉพาะไฟล์ที่ไม่มีนามสกุล

  4. MD (Make Directory) - คำสั่งในการสร้างไดเรกทอรี่ เช่น MD Photo จะได้ไดเรกทอรี่ C:\Photo

  5. CD (Change Directory) - คำสั่งในการเข้าไปในไดเรกทอรี่ (CD\ คือคำสั่งในการออกจากห้องไดเรกทอรี่)

  6. RD (Remove Directory) - คำสั่งในการลบไดเรกทอรี่ เช่น RD Photo (เราจะต้องอยู่นอกห้องไดเรอทอรี่ Photo)

  7. REN (Rename) - คำสั่งในการเปลี่ยนชื่อชือ เช่น REN readme.txt read.me หมายถึงการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น READ.ME

ชนิดคำสั่ง DOS

คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1.
คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น
2.
คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น

รูปแบบและการใช้คำสั่งต่างๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:] หมายถึง Drive เช่น A:, B:
[path] หมายถึง ชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename] หมายถึง ชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext] หมายถึง ส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ : ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
CLS (CLEAR SCREEN) ลบข้อมูลบนจอภาพขณะนั้น CLS
DATE แก้ไข/ดูวันที่ให้กับ SYSTEM DATE
TIME แก้ไข/ดูเวลา ให้กับ SYSTEM TIME
VER (VERSION) ดูหมายเลข (version) ของดอส VER
VOL (VOLUME) แสดงชื่อของ DISKETTE VOL [d:]
DIR (DIRECTORY) ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
  /p หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ 1 หน้าจอภาพ ถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
  /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
TYPE แสดงเนื้อหาหรือข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่กำหนด TYPE [d:] [path] [filename.[.ext]]
COPY ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทาง อาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ COPY [d:] [path] [filename[.ext]] [d:] [path] filename[.ext]]
REN (RENAME] เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล (ข้อมูลข้างในแแฟ้มข้อมูลยังเหมือนเดิม) REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]]
DEL (DELETE) ลบแฟ้มข้อมูลออกจากแฟ่นดิสก์ DEL [d:] [path] [filename[.ext]]
PROMPT COMMAND เปลี่ยนรูปแบบตัวพร้อมรับคำสั่ง (system prompt) เป็นตัวใหม่ตามที่ต้องการ PROMPT [prompt-text] or prompt $p$g
  $ หมายถึงตัวอักษร
  t หมายถึง เวลา
  d หมายถึง วัน เดือน ปี
  p หมายถึง เส้นทาง Directory ปัจจุบัน
  v หมายถึง DOS VERSION NUMBER
  g หมายถึง เครื่องหมาย >
  l หมายถึง เครื่องหมาย <
  q หมายถึง เครื่องหมาย =
MD (MAKE DIRECTORY) สร้าง subdirectory (ห้องย่อย) เพื่อจัดเก็บแฟ้มข้อมูล MD [d:] [path] [Dir_name]
CD (CHANGE DIRECTORY) เป็นคำสั่งในการเปลี่ยนไปใช้งาน subdirectory ที่ต้องการ CD [d:] [path] [Dir_name]
CD\ (การย้ายกลับมาสู่ ROOT DIRECTORY
CD.. (การย้ายกลับมาที่ DIRECTORY)
RD (REMOVE DIRECTORY) ลบ subdirectory (ห้องย่อย) ที่สร้างด้วยคำสั่ง MD RD [d:] [path] [Dir_name]

คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1
.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น
.EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว

รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (EXTERNAL COMMAND)
คำสั่ง หน้าที่ รูปแบบ
TREE แสดงรายชื่อ directory ทั้งหมดในแผ่นดิสก์ ที่กำหนด TREE [d:] [/f]
  /f หมายถึงรายชื่อแฟ้มข้อมูลในแต่ละ subdirectory ด้วย
SYS (SYSTEM) เป็นคำสั่ง copy แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในการเปิดเครื่องลงในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ที่ไม่มีระบบ (เปิดเครื่องไม่ได้) SYS [d:]
CHKDSK (CHECK DISK) ตรวจสอบ directory หรือ file แสดงจำนวน memory ที่ใช้ไปและที่เหลืออยู่ รวมถึงเนื้อที่ บนแผ่นดิสก์ที่ใช้ไป และที่เหลืออยู่ CHKDSK [d:] [path] [filename[.ext]] [/f] [/v]
  /f หมายถึง การตรวจสอบเนื้อที่ที่เสียหาย
  /v หมายถึง ให้แสดง directory และ แฟ้มข้อมูลที่ซ่อนอยู่
LABEL เพื่อกำหนดชื่อ (volume label), เปลี่ยนหรือลบ volume label บนดิสก์ LABEL [d:] [volume label]
FORMAT กรณีที่ diskette ใหม่ จะเป็นการจัด track และ sector ของ diskette ใหม่ เพื่อให้เขียนข้อมูลได้
กรณีที่เป็น diskette ที่มีข้อมูลอยู่แล้วเมื่อใช้คำสั่งนี้ข้อมูลจะถูกล้างไปหมด พร้อมที่เขียนข้อมูลใหม่
FORMAT [d:] [/s] [/v]
  /s หมายถึง ทำการ format โดยทำการคัดลอก โปรแกรมระบบดอส (BIO.COM, OS.COM, COMMAND.COM)
 /v หมายถึง กำหนด volume label ให้ดิสก์
DISKCOPY (COPY DISKETTE) เป็นคำสั่งที่ใช้ copy file ทั้งหมดจากแผ่นดิสก์จากแผ่นหนึ่งไปใส่อีกแผ่นหนึ่ง แต่ถ้าแผ่นดิสก์อีกแผ่น ยังไม่ได้ทำการ format ก็จะทำการ format ให้โดยอัตโนมัติ DISKCOPY [d:] [d:]

ทดลองใช้คำสั่ง DOS ใน Windows

สำหรับผู้ใช้งาน Windows 95,98 สามารถทดสอบการใช้งานระบบ DOS ได้ มีวิธีเรียกใช้งานดังนี้

  1. คลิกปุ่ม Start เลือก คำสั่ง RUN พิมพ์คำว่า Command หรือ

  2. คลิกปุ่ม Start เลือกเมนู Program และเลือกโปรแกรม MS-DOS

  3. ต้องการให้หน้าจอแสดง DOS เต็มจอให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter

  4. และถ้าต้องการให้หน้าจอเล็กดังเดิม ก็ให้กดปุ่ม ALT พร้อมกับปุ่ม Enter เช่นเดียวกัน

  5. เลิกทดสอบและต้องการเข้าระบบ Windows ให้พิมพ์คำว่า EXIT

การติดตั้งโปรแกรมดอสจากแผ่นดิสก์ 4 แผ่น

  1. ให้นำแผ่น DOS แผ่นที่ 1 ใส่ในไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่อง

  2. รอสักพักจะมีหน้าจอสีฟ้า ให้กด Enter เลยไป

  3. พบกรอบสี่เหลี่ยมมีข้อความให้เลือก 2 บรรทัด คือ บรรทัดแรกออกจากไป DOS Prompt

  4. บรรทัดที่ 2 ให้ SETUP โปรแกรม DOS ให้เลือกรายการ SETUP กด N

  5. จะพบข้อความว่า The Setting are Correct แปลว่า การติดตั้งถูกต้องให้กด Enter

  6. จะพบข้อความให้เปลี่ยนชื่อ Directory C:\DOS ถ้าไม่ประสงค์จะเปลี่ยนให้กด Enter

  7. จะพบข้อความสีฟ้าอ่อน ความหมายคือ โปรแกรมจะเริ่มตรวจเช็คค่าที่จำเป็นเกี่ยวกับภาษา กด Enter

  8. จะพบกรอบข้อความที่มีข้อความว่า เก็บค่า เก็บค่าออกจากโปรแกรม ให้เลื่อนแถบสีแดงมาทับ แล้วกด Enter

  9. โปรแกรมจะเริ่ม COPY ไฟล์จากแผ่นลงฮาร์ดดิสก์จากแผ่นที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนมีรายการหน้าจอให้ใส่แผ่นที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ

  10. ส่วนแผ่นที่ 4 พอได้ 99% จะมีรายงานให้กด Y กด Y แล้วกดดังรูป

  11. แล้วรอสักพักจะมีรายงานให้กด Enter และมีรายงานให้นำแผ่นออกจากไดร์ฟ A แล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง การลงโปรแกรม DOS ก็เสร็จเรียบร้อย

 

 

Best View By IE 5.0 up / 800x600 Pixels / Medium Text Size
© 2000-2004 PBAT.AC.TH  Design & Update By Seaksan sangnark

 

เวลาที่เราท้อแท้นะครับ
ขออย่าสิ้นหวัง
ที่ผ่านมามันเป็นบทเรียนให้เราแข็งแกร่งขึ้น
ให้มองไปข้างหน้า
ไม่ต้องรีบตัดสินใจอะไร
เวลาของความจริงนั้นยังอีกยาวไกล
คิดแต่วันพรุ่งจะทำอะไรที่เรามีความสุขก็พอ 
ไม่ต้องคิดให้ยาวไกล..... แต่ไม่ใช่ไม่ให้หวัง
ความฝันมันแสนยาวไกลนะครับ
ค่อยเป็นค่อยไปนะครับแล้วจะดีเอง

Best View By IE 5.0 up / 800x600 Pixels / Medium Text Size
© 2000-2004 PBAT.AC.TH  Design & Update By Seaksan sangnark